อุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์การแพทย์ของไทย

   อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ครอบคลุมทั้งเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์เป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูง และมีการเติบโตได้แม้สถานการณ์เศรษฐกิจจะไม่เอื้ออํานวย เนื่องจากเป็นสินค้าที่จําเป็นต่อการดํารงชีวิต ซึ่งปัจจุบันอัตราผู้สูงอายุมีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้นทําให้มีความต้องการเครื่องมือทางการแพทย์เพิ่มขึ้นตามไปด้วยเครื่องมือแพทย์ โดยไทยเป็นประเทศที่ส่งออกและนําเข้าเครื่องมือแพทย์อยู่ในลําดับที่ 17 และ 32 ของโลก ตามลําดับ



   ไทยเป็นทั้งผู้นําเข้าและผู้ส่งออกเครื่องมือแพทย์ที่สําคัญในกลุ่มอาเซียน ในสัดส่วน 27:73 โดยผลิตภัณฑ์นําเข้าส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องมือแพทย์ในกลุ่มครุภัณฑ์ทางการแพทย์ (สัดส่วน 44%ของมูลค่าการนําเข้าเครื่องมือแพทย์ทั้งหมดของไทย) ที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตค่อนข้างสูง ได้แก่ เครื่องอัลตราซาวน์ เครื่องเอ็กซเรย์ เครื่องตรวจวัดคลื่นหัวใจ เครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าในสมอง และผลิตภัณฑ์ทางจักษุวิทยา เป็นต้น โดยแหล่งนําเข้าหลักคือ สหรัฐฯ (สัดส่วน 22% ของมูลค่าการนําเข้าเครื่องมือแพทย์ทั้งหมด) รองลงมา ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และเยอรมนี ตามลําดับ


  ส่วนผลิตภัณฑ์ที่ไทยผลิตเพื่อส่งออกส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องมือแพทย์ในกลุ่มวัสดุสิ้นเปลืองทางการแพทย์(สัดส่วน 84%ของมูลค่าการส่งออกเครื่องมือแพทย์ทั้งหมด) ได้แก่ ถุงมือยางทางการแพทย์ หลอดสวนและหลอด เข็มฉีดยา และอุปกรณ์ทําแผล เป็นต้น ซึ่งผู้ประกอบการที่ทําการผลิตและส่งออกส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทข้ามชาติที่เข้ามาลงทุนในไทยและส่งกลับไปขายในประเทศของตน โดยประเทศที่ไทยส่งออกเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์มากที่สุดคือ สหรัฐฯ (สัดส่วน 29% ของมูลค่าการส่งออกเครื่องมือแพทย์ทั้งหมด) รองลงมา ได้แก่ ญี่ปุ่น เยอรมนี และเนเธอร์แลนด์ ตามลําดับ การผลิตเครื่องมือแพทย์ของไทยเน้นผลิตเพื่อส่งออกเป็นหลัก มูลค่าการจําหน่ายเครื่องมือแพทย์ในประเทศและส่งออกมีสัดส่วนที่ 30:70 โดยเครื่องมือแพทย์ที่ไทยผลิตส่วนใหญ่เป็นอุปกรณ์ขั้นพื้นฐานเน้นการผลิตที่ใช้วัตถุดิบในประเทศเป็นหลัก ได้แก่ ยาง และพลาสติก จําแนกได้ตามประเภทการใช้งาน ดังนี้

1วัสดุสิ้นเปลืองทางการแพทย์ (Single-use device)

เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้เพื่อการรักษาพยาบาลทั่วไปที่ใช้เทคโนโลยีไม่สูงมาก ส่วนใหญ่จะเป็นการใช้ครั้งเดียวหรือใช้แล้วทิ้ง ได้แก่ หลอดฉีดยา เข็มฉีดยา สายยาง หลอดสวน แกนสอด ถุงมือยาง อุปกรณ์และเครื่องใช้อื่นๆ ทางทันตกรรม อุปกรณ์และเครื่องใช้อื่นๆ ที่เกี่ยวกับนัยน์ตา เป็นต้น

ผลิตภัณฑ์ที่ไทยมีศักยภาพในการผลิตสูงและแข่งขันได้ดีในตลาดโลกคือ ถุงมือยางทางการแพทย์การผลิตถุงมือยางทางการแพทย์จะเน้นตลาดส่งออกในสัดส่วนสูงราว 90% ของปริมาณการจําหน่ายถุงมือยางทางการแพทย์ทั้งหมด ผลิตภัณฑ์ประเภทนี้มีการเติบโตต่อเนื่อง เนื่องจากมีความต้องการเพิ่มขึ้นสมํ่าเสมอ รองลงมาคือ หลอดสวนและหลอดฉีดยา ใช้พลาสติกเป็นส่วนประกอบที่สําคัญในการผลิต มีต้นทุนไม่สูงนัก และเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานทั่วไป โดยผู้ผลิตในกลุ่มวัสดุสิ้นเปลืองทางการแพทย์มีสัดส่วนสูงสุดประมาณ 55%ของจํานวนผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์ทั้งหมด

2ครุภัณฑ์ทางการแพทย์ (Durable medical device)
เป็นเครื่องมือทางการแพทย์ที่มีลักษณะคงทนถาวร มีอายุการใช้งานไม่ตํ่ากว่า 1 ปี ตัวอย่างผลิตภัณฑ์เช่น หีบและชุดปฐมพยาบาล รถเข็นผู้ป่วย เตียงคนไข้ อุปกรณ์และเครื่องใช้ในทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ศัลยกรรม ทันตกรรม เครื่องวินิจฉัยโรคด้วยไฟฟ้า และเครื่องเอกซเรย์ เป็นต้น

ผลิตภัณฑ์ที่ไทยมีการผลิตและการส่งออกส่วนมากเป็นครุภัณฑ์ในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยและเตียงผู้ป่วย เตียงตรวจ รถเข็นผู้ป่วย เป็นต้น ซึ่งใช้เทคโนโลยีในการผลิตไม่สูงมาก

3ชุดนํ้ายาและชุดวินิจฉัยโรค (Reagent and test kit)
เป็นเครื่องมืออุปกรณ์ในการวินิจฉัยโรค ผลิตภัณฑ์นํ้ายา เพื่อใช้เตรียมหรือเก็บตัวอย่างจากร่างกาย อาทิ นํ้ายาทดสอบกรุ๊ปเลือด การตั้งครรภ์ ชุดนํ้ายาล้างไต ชุดตรวจการติดเชื้อ HIVเป็นต้น

ตลาดในประเทศยังมีขนาดเล็กมีผู้ผลิตเพียง 7%ของผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์ ส่วนใหญ่จะเป็นการร่วมทุนกับบริษัทต่างชาติที่สนใจเข้ามาลงทุนในไทย โดยชุดนํ้ายาและตรวจวินิจฉัยที่ไทยผลิต ได้แก่ น้ ายาตรวจโรคเบาหวาน โรคไต โรคตับอักเสบ เป็นต้น ซึ่ง1-2 ปีที่ผ่านมาไทยมีการผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์ชุดนํ้ายาและชุดวินิจฉัยโรคเพื่อเฝ้าระวังการเกิดโรคร้ายแรงที่ไม่ติดต่อในผู้สูงอายุมากขึ้น

อ้างอิง :
-MeDIU
-https://www.krungsri.com/bank/getmedia/5f9a1f83-e3f6-45da-9a52-5fdabba45ae6/IO_Medical_Devices_2018_TH.aspx




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร(Medical Hub) คืออะไร?

ยุทธศาสตร์ชาติ กับ อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร