บทความ

การให้บริการการแพทย์สมัยใหม่

เรามุ่งเน้นพัฒนา การรักษาและติดตามโรคระยะไกล การพัฒนาระบบเวชระเบียนออนไลน์ เพื่อความสะดวกนการจัดเก็บข้อมูลผู้ป่วย ทั้งeHealth และ mHealth การขับเคลื่อนการดำเนินงานในระบบบริการสุขภาพให้มีประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการและสนับสนุนให้เกิดประสิทธิภาพต่อองค์ประกอบต่างๆ ในระบบสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขได้มีนโยบายในการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของกระทรวง โดยมีแนวคิดปฏิรูประบบการดำเนินงานด้าน eHealth (หรือ Health IT)           eHealth คือ เครื่องมือและบริการทุกชนิดที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ในการดูแลสุขภาพที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ป่วยและผู้ให้บริการด้านสุขภาพ รวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพครอบคลุมถึงการรับส่งข้อมูลสุขภาพระหว่างหน่วยงานต่างๆ รวมถึง ระบบใบสั่งยาอิเล็คโทรนิคส์,บันทึกสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ ข้อมูลสุขภาพ , ระบบการส่งต่อ, เครือข่ายบริการสุขภาพ, telemedicine, อุปกรณ์เสริมรวมทั้งอุปกรณ์พกพาต่างๆ ที่ใช้ในระบบสุขภาพ , เว็บท่าสุขภาพ, โครงสร้างพื้นฐานด้าน IT, ข้อมูลสำหรับการวิจัยและการดูแลทางค...

การวิจัยยาและเวชภัณฑ์ 4.0

   ประเทศไทยเรามุ่งเน้นพัฒนายาชีววัตถุคล้ายคลึงที่มีคุณสมบัติคล้ายยาต้นแบบ เพื่อทดแทนยาชีววัตถุที่ต้องใช้การวิจัยยาวนาน   ยาชีววัตถุคล้ายคลึง (Biosimilars/Similar Biotherapeutic Products (SBPs)) คืออะไร?     องค์การอนามัยโลกกล่าวไว้ว่า “ชีววัตถุคล้ายคลึง” คือผลิตภัณฑ์ชีววัตถุ ซึ่งมีความคล้ายคลึงผลิตภัณฑ์ชีววัตถุที่ได้รับการขึ้นทะเบียนไว้แล้วในแง่ของคุณภาพ ความปลอดภัย และประสิทธิภาพ     ยาชีววัตถุ(biotherapeutic medicine)เป็นยาที่ได้มาจากอินทรีย์มีชีวิต (living organisms) และมักใช้เพื่อรักษาโรคที่ซับซ้อน และโรคร้ายแรง เช่น มะเร็ง และเบาหวาน ซึ่งอินทรีย์เหล่านี้มักเป็นโปรตีนขนาดใหญ่และมีความซับซ้อนสูง    โครงสร้างของยาดังกล่าวแตกต่างกับโมเลกุลของยาที่สังเคราะห์มาจากสารเคมีที่มักมีขนาดเล็กกว่าและเรียบง่ายกว่าโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้ โดยส่วนใหญ่แล้ว ยาใหม่ๆเหล่านี้ต้องใช้เวลาในกระบวนการวิจัยที่ยาวนาน อีกทั้งมีกระบวนการผลิตที่ซับซ้อน จึงมักเลยเวลาของความคุ้มครองสิทธิบัตร ทำให้บริษัทอื่นๆมีโอกาสในการนำเสนอ ชีววัตถุคล้...

ศาสตร์ทางวิศวกรรมเกี่ยวข้องอย่างไร?

รูปภาพ
   จากหลักการทำงานของอุปกรณ์วัดระดับน้ำตาลในเลือด จะเห็นได้ว่ามีหลายขั้นตอนมาก ซึ่งศาสตร์ทางวิศวกรรมได้เข้าไปเกี่ยวข้องดังนี้ -วิศวกรรมไฟฟ้าและวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ สร้างวงจรไฟฟ้าสำหรับอุปกรณ์วัดระดับน้ำตาลในเลือด -วิศวกรรมคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมซอฟต์แวร์ เขียนโปรแกรมการทำงานของอุปกรณ์วัดระดับน้ำตาลในเลือด -วิศวกรรมเคมี วิเคราะห์วิจัยให้ปฏิกิริยาเคมีที่ใช้ ใช้เลือกให้น้อยลงแต่ได้ผลลัพธ์ที่เที่ยงตรง เพื่อลดความเจ็บของผู้ใช้งาน -วิศวกรรมอุตสาหการ ควบคุมกระบวนการผลิตในโรงงานที่ผลิตอุปกรณ์วัดระดับน้ำตาลในเลือด -วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ ออกแบบและสร้างผลิตชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์ -วิศวกรรมโลจิสติกส์ ขนส่งอุปกรณ์ทางการแพทย์ -วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร ผลิตระบบสารสนเทศและระบบการสื่อสาร -วิศวกรรมวัสดุ ออกแบบวัสดุที่ใช้ในการผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ -วิศวกรรมอัตโนมัติ สร้างและออกแบบระบบการผลิตอัตโนมัติ -วิศวกรรมควบคุม สร้าและควบคุมการผลิตให้มีความถูกต้องและแม่นยำ    นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของศาสตร์ทางวิศวกรรมที่เชื่อมโยงกับอุปกรณ์ชิ้นเล็กๆอย่างอุปกรณ์วัดระดับน้ำตาลในเล...

วิศวกรรม กับ อุปกรณ์การแพทย์

รูปภาพ
   ในการวิจัยและผลิตอุปกรณ์การแพทย์ จะมีศาสตร์ทางด้านต่างๆมาเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะศาสตร์ทางด้านวิศวกรรม ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่สำคัญเป็นอย่างมาก ในกระบวนการต่างๆจะต้องใช้ความรู้ทางด้านวิศวกรรมเข้ามาช่วยมากมาย จะยกตัวอย่างเช่น อุปกรณ์วัดระดับน้ำตาลในเลือด เพราะจํานวนผู้ป่วยจากโรคเฉพาะทาง อาทิ โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง และโรคเบาหวาน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และตรงกับความต้องการที่จะพัฒนาอุปกรณ์การแพทย์เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถตรวจได้เองโดยไม่ต้องเดินทางไปยังโรงพยาบาล  อุปกรณ์วัดระดับน้ำตาลในเลือดทำงานอย่างไร? หลักการตรวจวิเคราะห์และเทคโนโลยีของเครื่องตรวจน้ำตาลใน เลือดชนิดพกพามี 2 หลักการคือ 1 Photometric method  เป็นการตรวจน้ำตาลในเลือดโดยการวัดแสงที่เกิดขึ้น จากค่าความ เข้มของสี (color intensity) ของสารประกอบที่มีอยู่ในแถบตรวจ (strip) ที่ใช้ทดสอบซึ่งเป็นผลที่เกิดจากการทำปฏิกริยาของเอนไซม์ ระดับความเข้ม ข้นของน้ำตาลในเลือด สัมพัทธ์กับความเข้มของสี และการดูดซึมของแสง (Refractance photometry) ภายหลังการทำปฏิกริยาของเคมี น้ำตาลกับเ...

อุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์การแพทย์ของไทย

รูปภาพ
   อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ครอบคลุมทั้งเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์เป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูง และมีการเติบโตได้แม้สถานการณ์เศรษฐกิจจะไม่เอื้ออํานวย เนื่องจากเป็นสินค้าที่จําเป็นต่อการดํารงชีวิต ซึ่งปัจจุบันอัตราผู้สูงอายุมีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้นทําให้มีความต้องการเครื่องมือทางการแพทย์เพิ่มขึ้นตามไปด้วยเครื่องมือแพทย์ โดยไทยเป็นประเทศที่ส่งออกและนําเข้าเครื่องมือแพทย์อยู่ในลําดับที่ 17 และ 32 ของโลก ตามลําดับ    ไทยเป็นทั้งผู้นําเข้าและผู้ส่งออกเครื่องมือแพทย์ที่สําคัญในกลุ่มอาเซียน ในสัดส่วน 27:73 โดยผลิตภัณฑ์นําเข้าส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องมือแพทย์ในกลุ่มครุภัณฑ์ทางการแพทย์ (สัดส่วน 44%ของมูลค่าการนําเข้าเครื่องมือแพทย์ทั้งหมดของไทย) ที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตค่อนข้างสูง ได้แก่ เครื่องอัลตราซาวน์ เครื่องเอ็กซเรย์ เครื่องตรวจวัดคลื่นหัวใจ เครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าในสมอง และผลิตภัณฑ์ทางจักษุวิทยา เป็นต้น โดยแหล่งนําเข้าหลักคือ สหรัฐฯ (สัดส่วน 22% ของมูลค่าการนําเข้าเครื่องมือแพทย์ทั้งหมด) รองลงมา ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และเยอรมนี ตามลําดับ   ส่วนผลิตภัณฑ์ที่ไทย...

ยุทธศาสตร์ชาติ กับ อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร

รูปภาพ
     อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมในอนาคต (New S-Curve) ที่เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยในร่างยุทธศาสตร์ชาติได้อธิบายรายละเอียดของอุตสาหรรมการแพทย์ครบวงจรไว้ดังนี้    อุตสาหกรรมและบริการการแพทย์ครบวงจรความเชี่ยวชาญด้านบริการการแพทย์ของไทย อาศัยความเชี่ยวชาญด้านบริการการแพทย์ของไทยเพื่อสร้างอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องในประเทศเพื่อรองรับความต้องการใช้บริการการแพทย์ที่จะเพิ่มมากขึ้นทั้งจากสังคมผู้สูงอายุ และความต้องการการแพทย์ที่เพิ่มขึ้นจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อนำไปสู่ศูนย์กลางอุตสาหกรรมและบริการการแพทย์    โดยการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการการแพทย์ครอบคลุมการผลิตเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ การผลิตอวัยวะเทียม การผลิตเวชภัณฑ์และครุภัณฑ์การแพทย์ การผลิตเภสัชภัณฑ์ซึ่งรวมถึงชีวเภสัชภัณฑ์ และการให้บริการการแพทย์ที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการส่งเสริมการพัฒนาและการใช้เทคโนโลยีการแพทย์ใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับคนไทย การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในบริการการแพทย์    เพื่อลดต้นทุนการรักษาพยาบาล...

อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร(Medical Hub) คืออะไร?

รูปภาพ
    อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร หรือ Medical Hub เป็นอุตสาหกรรมที่ต่อยอดมาจากธุรกิจการรักษาพยาบาลและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โดยเพิ่มธุรกิจด้านอุปกรณ์ทางการแพทย์ จากพื้นฐานด้านอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม และ อุตสาหกรรมเวชภัณฑ์จากพื้นฐานด้านเกษตรและเคมี  ประกอบไปด้วย 3 ส่วน -การให้บริการสมัยใหม่ การให้บริการการแพทย์ผ่านอินเตอร์เน็ต และ สมาร์ทโฟน ให้คำปรึกษาทางการแพทย์และให้บริการก ารรักษาทางไกล สำหรับผู้ป่วยในและนอกประเทศ -การวิจัยและผลิตอุปกรณ์การแพทย์ เพื่อวินิจฉัยและติดตามผลระยะไกล(Remote Health Monitoring Devices) พัฒนามาจากเครื่องรับรู้(Sensors) และอุปกรณ์การวัดสมัยใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการวินิจฉัยโรคด้วยตนเอง และเพื่อเพิ่มความสะดวกแก่ผู้ป่วยที่ไม่สะดวกในการเดินทาง -การวิจัยยาและเวชภัณฑ์ มุ่งผลิตยาชีววัตถุคล้ายคลึง(Biosimilar) ที่มีคุณสมบัติคล้ายกับยาชีววัตถุต้นแบบ แต่ไม่จะเป็นต้องมีการวิจัยที่ยาวนานเหมือนยาต้นแบบ ที่ใช้รักษาโรคเรื้อรังต่างๆ อ้างอิง : www.eeco.or.th/industry/อุตสาหกรรมการแพทย์ ครบวงจร